๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ "วันแม่แห่งชาติ"

วันแม่แห่งชาติ12สิงหาคมประวัติพระราชินีพันปีหลวง

พระราชสมภพ 12 สิงหาคม

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงเป็นพระธิดาองค์ที่ ๓ ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร (สกุลเดิม สนิทวงศ์) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2475 ที่บ้านพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว ณ บ้านเลขที่ 1808 ถนนพระรามหก ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับพระราชทานนามว่า “สิริกิติ์” มีความหมายว่า “ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร”

พระภาดาและพระขนิษฐภคินี

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระภาดา (พี่ชาย) 2 องค์และพระขนิษฐภคินี (น้องสาว) 1 องค์ ดังนี้

  1. หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พุทธศักราช 2472)
  2. หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (ชาตะ พุทธศักราช 2473)
  3. หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร
  4. หม่อมราชวงศ์หญิงบุษบา กิติยากร (ชาตะ พุทธศักราช 2477) ภายหลังเป็นท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์

 

ชีวิตช่วงเยาว์วัย

ในช่วงที่ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระราชสมภพและสมัยพระเยาว์นั้น ประเทศไทยเพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย และช่วงหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ต้องทรงออกจากราชการทหาร ไปรับราชการในตำแหน่งเลขานุการเอก ประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางด้านหม่อมหลวงบัว ยังคงพำนักอยู่ในประเทศไทย จนให้กำเนิด หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ แล้วจึงเดินทางไปสมทบ โดยมอบ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ให้อยู่ในความดูแลของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์และท้าววนิดา พิจาริณี ผู้เป็นบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต้องอยู่ห่างไกลพระบิดาพระมารดาตั้งแต่อายุเพียงน้อยนิด บางคราวต้องระหกระเหินไปต่างจังหวัดกับพระบรมวงศานุวงศ์ตามเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง เช่น ในช่วงเกิดกบฏพระองค์เจ้าวรเดช ทำให้บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะตึงเครียด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับที่จังหวัดสงขลา โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในตามเสด็จในครั้งนี้ด้วย โดย หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ซึ่งเป็นนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปที่จังหวัดสงขลาด้วย

ปลายพุทธศักราช 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ทรงลาออกจากราชการ กลับประเทศไทยพร้อมครอบครัว อันมี หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ บุตรคนโต และ หม่อมราชวงศ์หญิงบุษบา บุตรีคนเล็ก แล้วมารับ หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ บุตรคนรอง กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จาก หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กลับมาอยู่รวมกันที่ตำหนัก ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ทรงศึกษา

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เริ่มศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาด เมื่อพุทธศักราช 2479 และสอบไล่ได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีเดียวกัน ต่อมาเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาลุกลามมาถึงประเทศไทย จังหวัดพระนครถูกโจมตีทางอากาศบ่อย ๆ ทำให้การเดินทางไม่สะดวกและขาดความปลอดภัย หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จึงต้องย้ายไปศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ ถนนสามเสน และได้ศึกษาที่นี่เป็นเวลา 8 ปี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ในการศึกษาที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ นอกจาก หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จะศึกษาวิชาสามัญทั่วไปแล้ว ยังเน้นศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และยังศึกษาเปียโนเป็นพิเศษด้วย โดยได้สมัครเข้าเรียนเปียโนตั้งแต่ปีแรกที่เข้าศึกษาที่นี่ พระองค์สามารถเรียนได้ดี เนื่องจากมีพรสวรรค์และความสนใจเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ยังได้รับการอบรมด้านวิชาการเรือนจึงสามารถประกอบอาหารได้ทั้งอาหารไทยและอาหารฝรั่ง

ในช่วงที่เกิดสงคราม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้เผชิญสภาพของสงครามโลกเช่นเดียวกับคนไทยทั้งหลาย พระบิดาผู้ทรงเป็นทหารเป็นผู้ปลูกฝังให้บุตรรู้จักความมีวินัย ความอดทน ความกล้าหาญ และความเสียสละ โดยอาศัยเหตุการณ์ในสงครามเป็นตัวอย่าง และสงครามก็ทำให้ ผู้คนต้องหันหน้าเข้าช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยาก สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มีความเมตตาต่อผู้อื่นและรักความมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่เยาว์วัย

เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ

หลังจากสงครามสงบแล้ว พุทธศักราช 2489 นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คือ นายควง อภัยวงศ์ ได้แต่งตั้งให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เป็นรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล จึงพาครอบครัวทั้งหมดไปด้วย ในขณะนั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 ของโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์แล้ว

ในระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ตั้งใจเรียนเปียโน ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสกับครูพิเศษ ซึ่งพระองค์สามารถศึกษาและใช้ภาษาทั้งสองได้เป็นอย่างดี แต่พำนักอยู่อังกฤษได้ไม่นานหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ก็ทรงย้ายไปประเทศเดนมาร์กและช่วงพุทธศักราช 2490 หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ย้ายดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และพาครอบครัวมาอยู่ด้วย ระหว่างนี้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงตั้งใจเรียนเปียโน เพื่อเตรียมสอบเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัย Conservatoire National De Musique ซึ่งเป็นวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของประเทศฝรั่งเศส

ทรงหมั้น

ช่วงพุทธศักราช 2491 ขณะที่ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและครอบครัว พำนักอยู่ในกรุงปารีส ได้มีโอกาสเฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ในกรุงปารีส รวมถึงทอดพระเนตรการแสดงของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงอยู่เสมอ และโปรดประทับที่สถานเอกอัครราชทูตไทย รวมถึงทรงร่วมสังสรรค์กับหมู่นักเรียนไทยอย่างใกล้ชิดและไม่ถือพระองค์ จึงทำให้มีโอกาสพบและใกล้ชิดกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เนื่องด้วยมีความสนใจในศิลปะการดนตรีเช่นเดียวกัน จึงทำให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยใน หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขณะนั้นมีอายุ 15 ปีเศษ และแทบทุกครั้งที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกรุงปรารีส หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและครอบครัว ได้เฝ้าถวายการรับรองตลอดเวลาที่ประทับ จนเป็นที่คุ้นเคยต่อพระยุคลบาทและต้องพระราชอัธยาศัย ต่อมา หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ก็เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมอยู่เสมอ

เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2491 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสบอุปัทวเหตุทางรถยนต์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในระหว่างที่ประทับรักษาพระองค์ในสถานพยาบาล ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หม่อมหลวงบัว พาบุตรีทั้งสองคือ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ และหม่อมราชวงศ์บุษบา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเยี่ยมอาการเป็นประจำ จนพระอาการประชวรทุเลาลง เสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักได้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงได้ทรงขออนุญาตให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เฝ้าถวายการพยาบาลและทรงดูแล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และมีพระราชกระแสรับสั่งให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ อยู่ศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ในโรงเรียนประจำ Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสีย

ในการสอนวิชาพิเศษแก่กุลสตรี คือ ภาษา ศิลปะ ดนตรี ประวัติวรรณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่ง หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ก็ทรงอนุญาต

ต่อมาอีก 1 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและครอบครัวเข้าเฝ้าฯ แล้วสมเด็จพระราชชนนีรับสั่งขอ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต่อ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ทรงหมั้นกับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และประกอบพระราชพิธีหมั้นอย่างเงียบ ๆ ทรงใช้พระธำมรงค์ที่สมเด็จพระราชบิดา ทรงหมั้นสมเด็จพระราชชนนีเป็นพระธำมรงค์หมั้น แล้วคงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ศึกษาต่อไป หลังจากนั้นจึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้แจ้งมายังรัฐบาลไทยทราบอย่างเป็นทางการว่า พระองค์ได้ทรงประกอบพิธีหมั้นกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ แล้ว เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พุทธศักราช 2492

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

เฉลิมพระยศเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”

วันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 เป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับเฉลิมพระบรมนามาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และทรงสถาปนาเฉลิมพระยศสมเด็จพระราชินีเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”

เสด็จพระราชดำเนินประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วันที่ 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะแพทย์ผู้รักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกราบบังคมทูลแนะนำให้ทรงพักรักษาพระองค์อีกระยะหนึ่ง

พระราชโอรสและพระราชธิดา

  1. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชโอรสและ
  2. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 
  3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

การสถาปนาพระอิสริยยศ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศ 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2493

ในวโรกาสพระราชพิธีราชาภิเษก ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็น “สมเด็จพระราชินีเจ้าสิริกิติ์”

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493

ในวโรกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศสถาปนา เฉลิมพระเกียรติยศ “สมเด็จพระราชินีเจ้าสิริกิติ์” ขึ้นเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2499

ด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงผนวช (22 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2499) จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ”

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๒
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร พนักงาน บริษัท M2G จำกัด


Older Post Newer Post


Leave a comment

Please note, comments must be approved before they are published

Liquid error (layout/theme line 116): Could not find asset snippets/spurit_uev-theme-snippet.liquid